วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียน ครั้ง 16



วันพุธ ที่ 26 กันยายน 2555 เวลา 08.30-12.20 น.



-
อาจารย์ได้เช็คชื่อนักศึกษาตามปกติ

- อาจารย์ได้แจกกระดาษให้คนละแผ่น ให้อธิบายถึง แท็บเล็ตกับเด็กประถม 1

ตามหัวข้อ ข้อดี / ข้อเสีย /มีข้อจำกัด อย่างไรของการใช้แท็บเล็ตสำหรับเด็กประถม 1

- โดยที่เราจะบรรยาศ หรือ ทำเป็น Mind Map ก็ได้แล้วแต่เราจะถนัด โดยอาจารย์ให้ข้อแตกต่าง การทำแบบธรรมดา กับแบบไม่เหมือนใคร แบบไหนจะดีกว่ากัน



                                แท็บเล็ตกับเด็กประถม 1





แพทย์ชี้เด็ก 6-7 ปี ไม่เหมาะใช้แท็บเล็ต
รศ.พ.ญ.จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์กับศูนย์ข่าว TCIJ ถึงการใช้แท็บเล็ตของเด็กนักเรียนชั้นป.1 ว่า เด็กอายุ 6-7 ปี เป็นเด็กที่อยู่ในวัยเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ควรพัฒนาทักษะทุกอย่างอย่างรอบด้าน เช่นทักษะในการใช้กล้ามเนื้อมือ ในการขีดเขียน ทักษะในการฟัง การรอคอย นั่งให้นิ่ง ทักษะการเคลื่อนไหวโดยการเล่นกิจกรรมกีฬา หรือทักษะทางสังคม เช่น การรู้จักรอคอย การแบ่งปัน
ส่วนเรื่องทักษะด้านภาษา การขีดเขียน ความรู้ เป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สัดส่วนความสำคัญแต่ละด้านจะพูดว่าสัดส่วนใดสำคัญที่สุดไม่ได้ ทุกอย่างต้องเป็นไปพร้อมๆ กัน ถ้าในกรณีกล้ามเนื้อมือไม่มีแรงก็เขียนหนังสือไม่ได้ ถ้าสายตาไม่ดีมองกระดานไม่ชัด ก็เรียนไม่ได้ เป็นต้น

แพทย์ห่วงเรื่องระบบ พัฒนาไอคิว-อีคิวอย่างไร

ส่วนการบรรจุหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาต่างๆ ในแท็บเล็ต จะมีส่วนช่วยพัฒนาไอคิว (ความฉลาดทางปัญญา) และอีคิว (ความฉลาดทางอารมณ์) ของเด็กได้หรือไม่นั้น พ.ญ.จันท์ฑิตากล่าวว่า ในแง่ความเฉลียวฉลาดทางสติปัญญาหรือไอคิว จะถือว่าแท็บเล็ตเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการเสริมสร้างได้ดี ถ้าเด็กใช้สิ่งเหล่านี้ แต่ถ้าไม่ใช้ก็ไม่ได้หมายความว่า พัฒนาการจะไม่เกิดขึ้น แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงเด็กสมัยนี้คือ ทุกคนมักจะใช้เทคโนโลยีเพื่อความสะดวก และชอบใช้การตัดถ้อยคำ หรือข้อความแล้ววางในหน้ากระดาษส่งครู ถ้าเป็นเช่นนี้ก็จะไม่ช่วยในการพัฒนาไอคิว ส่วนอีคิวหรือความฉลาดทางอารมณ์ ขณะนี้ยังมองไม่ออกว่า แท็บเล็ตจะช่วยในเรื่องนี้ได้อย่างไร มีเกมส์ที่ส่งเสริมอีคิวหรือไม่ ส่วนจะช่วยในการแยกแยะของเด็กได้หรือไม่
พ.ญ.จันท์ฑิตากล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก เพราะขนาดหลักสูตรปกติยังไม่มี ไม่รู้ว่าจะทำได้อย่างที่พูดได้หรือไม่ การพัฒนาทางอีคิว จะต้องเกิดขึ้นจากการเรียนรู้ในชีวิตประจำวันและมีคนคอยให้คำแนะนำ หล่อหลอมมาตั้งแต่เล็กๆ ทั้งครอบครัว และครูผู้สอน มีต้นแบบที่ดีสิ่งแวดล้อมทั้งที่บ้านและโรงเรียน พ่อแม่ต้องมีความเอาใจใส่ รวมทั้งการส่งเสริมศักยภาพของเด็ก

แนะรัฐแจกเด็กมัธยม-มหาวิทยาลัยน่าจะคุ้มค่ากว่า

พ.ญ.จันท์ฑิตากล่าวต่อว่า ทางแก้ง่ายๆ คือ รัฐบาลควรแจกแท็บเล็ตให้กับเด็กในระดับชั้นมัธยมศึกษา หรือเด็กมหาวิทยาลัย เพื่อการใช้ประโยชน์จากแท็บเล็ตอย่างคุ้มค่า ใช้งานอย่างเหมาะสม และมีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะไม่หมกมุ่นกับเรื่องที่อันตราย สิ่งเหล่านี้มองว่าเป็นเรื่องคุ้มค่า รวมถึงการกำกับดูแลได้ง่าย เด็กวัย 6-7 ขวบเหมาะสมที่จะเรียนรู้กับธรรมชาติ และระบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเต็มที่ ตัวครูผู้สอนก็ต้องใช้เทคโนโลยีเป็น กำกับดูแลเป็น

ส่วนตัวครูผู้สอนรวมถึงพ่อแม่เป็นปัจจัยสำคัญในการดูแลในการใช้งานแท็บเล็ตใช่หรือไม่ พ.ญ.จันท์ฑิตา กล่าวว่า คนที่อยู่รอบตัวเด็กทั้งครูและพ่อแม่ต่างมีบทบาทสำคัญ ขณะที่ครูยืนอยู่หน้าห้องแล้วเด็กอีก 30-40 คน อยู่หลังห้อง เวลาสอนเด็กแต่ละคนจะก้มอยู่กับหน้าจอของตัวเอง โดยที่ครูไม่รู้เลยว่าเด็กเล่นเกมส์ หรือเข้าโปรแกรมไหนอยู่ แต่ถ้าเป็นกระดาษ หรือกระดานที่ต้องจด ต้องเขียน ไม่มีทางทำอย่างอื่น เพราะครูผู้สอนมองเห็นได้ ซึ่งทักษะในการใช้น้ำหนักมือ พัฒนาการด้านการฝึกเรียบเรียงประโยค คำ ถ้าเป็นแท็บเล็ตก็จะใช้ได้เพียงไม่กี่นิ้ว ไม่ได้ลงน้ำหนัก จะวางมืออย่างไร สะกดคำอย่างไร



สรุป
- การทำงานชิ้นนี้จะช่วยให้นักศึกษาในการคิดวิเคราะห์ในการทำงาน ว่างานจะออกมาอย่างไร

บรรยาศการในห้องเรียน

ห้องเรียนสะอาดเรียบร้อย มีแอร์เย็นสบาบ  อาจารย์สั่งงานได้ชัดเจน เรียนแล้วไม่ตึงเครียด
สนุก และอาจารย์ได้แทรกเนื้อหาสาระสำคัญอยู่บ่อยๆ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น