วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียน ครั้ง 16



วันพุธ ที่ 26 กันยายน 2555 เวลา 08.30-12.20 น.



-
อาจารย์ได้เช็คชื่อนักศึกษาตามปกติ

- อาจารย์ได้แจกกระดาษให้คนละแผ่น ให้อธิบายถึง แท็บเล็ตกับเด็กประถม 1

ตามหัวข้อ ข้อดี / ข้อเสีย /มีข้อจำกัด อย่างไรของการใช้แท็บเล็ตสำหรับเด็กประถม 1

- โดยที่เราจะบรรยาศ หรือ ทำเป็น Mind Map ก็ได้แล้วแต่เราจะถนัด โดยอาจารย์ให้ข้อแตกต่าง การทำแบบธรรมดา กับแบบไม่เหมือนใคร แบบไหนจะดีกว่ากัน



                                แท็บเล็ตกับเด็กประถม 1





แพทย์ชี้เด็ก 6-7 ปี ไม่เหมาะใช้แท็บเล็ต
รศ.พ.ญ.จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์กับศูนย์ข่าว TCIJ ถึงการใช้แท็บเล็ตของเด็กนักเรียนชั้นป.1 ว่า เด็กอายุ 6-7 ปี เป็นเด็กที่อยู่ในวัยเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ควรพัฒนาทักษะทุกอย่างอย่างรอบด้าน เช่นทักษะในการใช้กล้ามเนื้อมือ ในการขีดเขียน ทักษะในการฟัง การรอคอย นั่งให้นิ่ง ทักษะการเคลื่อนไหวโดยการเล่นกิจกรรมกีฬา หรือทักษะทางสังคม เช่น การรู้จักรอคอย การแบ่งปัน
ส่วนเรื่องทักษะด้านภาษา การขีดเขียน ความรู้ เป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สัดส่วนความสำคัญแต่ละด้านจะพูดว่าสัดส่วนใดสำคัญที่สุดไม่ได้ ทุกอย่างต้องเป็นไปพร้อมๆ กัน ถ้าในกรณีกล้ามเนื้อมือไม่มีแรงก็เขียนหนังสือไม่ได้ ถ้าสายตาไม่ดีมองกระดานไม่ชัด ก็เรียนไม่ได้ เป็นต้น

แพทย์ห่วงเรื่องระบบ พัฒนาไอคิว-อีคิวอย่างไร

ส่วนการบรรจุหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาต่างๆ ในแท็บเล็ต จะมีส่วนช่วยพัฒนาไอคิว (ความฉลาดทางปัญญา) และอีคิว (ความฉลาดทางอารมณ์) ของเด็กได้หรือไม่นั้น พ.ญ.จันท์ฑิตากล่าวว่า ในแง่ความเฉลียวฉลาดทางสติปัญญาหรือไอคิว จะถือว่าแท็บเล็ตเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการเสริมสร้างได้ดี ถ้าเด็กใช้สิ่งเหล่านี้ แต่ถ้าไม่ใช้ก็ไม่ได้หมายความว่า พัฒนาการจะไม่เกิดขึ้น แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงเด็กสมัยนี้คือ ทุกคนมักจะใช้เทคโนโลยีเพื่อความสะดวก และชอบใช้การตัดถ้อยคำ หรือข้อความแล้ววางในหน้ากระดาษส่งครู ถ้าเป็นเช่นนี้ก็จะไม่ช่วยในการพัฒนาไอคิว ส่วนอีคิวหรือความฉลาดทางอารมณ์ ขณะนี้ยังมองไม่ออกว่า แท็บเล็ตจะช่วยในเรื่องนี้ได้อย่างไร มีเกมส์ที่ส่งเสริมอีคิวหรือไม่ ส่วนจะช่วยในการแยกแยะของเด็กได้หรือไม่
พ.ญ.จันท์ฑิตากล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก เพราะขนาดหลักสูตรปกติยังไม่มี ไม่รู้ว่าจะทำได้อย่างที่พูดได้หรือไม่ การพัฒนาทางอีคิว จะต้องเกิดขึ้นจากการเรียนรู้ในชีวิตประจำวันและมีคนคอยให้คำแนะนำ หล่อหลอมมาตั้งแต่เล็กๆ ทั้งครอบครัว และครูผู้สอน มีต้นแบบที่ดีสิ่งแวดล้อมทั้งที่บ้านและโรงเรียน พ่อแม่ต้องมีความเอาใจใส่ รวมทั้งการส่งเสริมศักยภาพของเด็ก

แนะรัฐแจกเด็กมัธยม-มหาวิทยาลัยน่าจะคุ้มค่ากว่า

พ.ญ.จันท์ฑิตากล่าวต่อว่า ทางแก้ง่ายๆ คือ รัฐบาลควรแจกแท็บเล็ตให้กับเด็กในระดับชั้นมัธยมศึกษา หรือเด็กมหาวิทยาลัย เพื่อการใช้ประโยชน์จากแท็บเล็ตอย่างคุ้มค่า ใช้งานอย่างเหมาะสม และมีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะไม่หมกมุ่นกับเรื่องที่อันตราย สิ่งเหล่านี้มองว่าเป็นเรื่องคุ้มค่า รวมถึงการกำกับดูแลได้ง่าย เด็กวัย 6-7 ขวบเหมาะสมที่จะเรียนรู้กับธรรมชาติ และระบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเต็มที่ ตัวครูผู้สอนก็ต้องใช้เทคโนโลยีเป็น กำกับดูแลเป็น

ส่วนตัวครูผู้สอนรวมถึงพ่อแม่เป็นปัจจัยสำคัญในการดูแลในการใช้งานแท็บเล็ตใช่หรือไม่ พ.ญ.จันท์ฑิตา กล่าวว่า คนที่อยู่รอบตัวเด็กทั้งครูและพ่อแม่ต่างมีบทบาทสำคัญ ขณะที่ครูยืนอยู่หน้าห้องแล้วเด็กอีก 30-40 คน อยู่หลังห้อง เวลาสอนเด็กแต่ละคนจะก้มอยู่กับหน้าจอของตัวเอง โดยที่ครูไม่รู้เลยว่าเด็กเล่นเกมส์ หรือเข้าโปรแกรมไหนอยู่ แต่ถ้าเป็นกระดาษ หรือกระดานที่ต้องจด ต้องเขียน ไม่มีทางทำอย่างอื่น เพราะครูผู้สอนมองเห็นได้ ซึ่งทักษะในการใช้น้ำหนักมือ พัฒนาการด้านการฝึกเรียบเรียงประโยค คำ ถ้าเป็นแท็บเล็ตก็จะใช้ได้เพียงไม่กี่นิ้ว ไม่ได้ลงน้ำหนัก จะวางมืออย่างไร สะกดคำอย่างไร



สรุป
- การทำงานชิ้นนี้จะช่วยให้นักศึกษาในการคิดวิเคราะห์ในการทำงาน ว่างานจะออกมาอย่างไร

บรรยาศการในห้องเรียน

ห้องเรียนสะอาดเรียบร้อย มีแอร์เย็นสบาบ  อาจารย์สั่งงานได้ชัดเจน เรียนแล้วไม่ตึงเครียด
สนุก และอาจารย์ได้แทรกเนื้อหาสาระสำคัญอยู่บ่อยๆ



วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555





วันพุธ ที่ 19 กันยายน 2555 เวลา  08.30-12.20  . 



- อาจารย์ตรวจ Blogger ของนักศึกษาของแต่ละคน

- อาจารย์ให้คำแนะนำ และวิธีการแก้ไข Blogger ให้เสร็จสมบูรณ์ของแต่ละคนควรปรับปรุงแก้ไข

อย่างไรบ้าง

-โดยบล็อกของดิฉันได้แก้ไขคือ


- เพิ่มลิงค์รายชื่อเพื่อนในห้องให้ครบทุกคน

- แก้ไขแหล่งความรู้เพิ่มเติม

-ให้ไปดูแบบตัวอย่างคอร์สซีรีบัสในเว็ปไซต์มหาลัย
ว่าจุดประการเรียนเป็นแบบไหน

- ตกแต่งบล็อกให้เรียบร้อยสวยงาม

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

อบรมการจัดบอร์ด

26  สิงหาคม 2555



การประดิษฐ์ดอก "พุทธรักษา" จากกระดาษ

พุทธรักษาแทนใจมอบให้พ่อ                รู้ไหมหนอลูกรักพ่อเท่าชีวัน
พระคุณพ่อล้ำค่าอเนกอนันต์                พ่อของฉันเป็นคนดีที่หนึ่งเลย









การเข้าเรียน ครั้งที่ 14



วันพุธที่12กันยายน พ.ศ.2555 เวลาเรียน 08.30-12.20 น

- อาจารย์ให้ไปเอากล้อง VDO มาให้นักศึกษาบันทึกการเล่านิทานด้วยเทคนิคต่างๆที่พวกเราได้แบ่งกันไว้ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ที่เเล้ว โดยที่เรื่องของดิฉัน คือ เล่าไปตัดไป โดยจับคู่กับ นางสาวกมลวรรณ ศรีสำราญ คือเรื่อง “หมู่บ้านแสนสุข”






- พอถ่ายกันเกือบเสร็จอาจารย์ก็ได้ขึ้นมาสอนต่อ อาจารย์ได้ถามเเละได้บันทึกไว้ว่าใครบ้างที่มีความสามารถพิเศษในด้านต่างๆ เพื่อนทุกคนก็มีทั้งความสามารถและไม่มี ทำให้อาจารย์ต้องถามย้ำหลายๆรอบซึ่งเรื่องแบบนี้มันเป็นเรื่องของตัวเราเอง เราต้องมีข้อมูลที่สุดแล้ว ไม่จำเป็นต้องให้คนอื่นมาถามซ้ำ หรือถามคำ ตอบคำ
- อาจารย์พูดถึงอาเซียนว่าเราจะสอนอาเซียนให้กับเด็กได้อย่างไร พวกเราต่างก็ร่วมตอบกันทุกคน เช่น การวาดภาพ ระบายสี การร้องเพลง สอนภาษาสื่อออกมาโดยลักษณะท่าทาง การเเสดงออก

- อาจารย์ก็ได้พูดถึงว่าการเรียนที่มีการปรับปรุงและพัฒนาทำไมนักศึกษาไม่พัฒนาเลยสมุดบันทึกก็ไม่มี การทำงานต้องมีหลักฐาน คะเเนนอาจารย์ให้ทุกคน 100 คะเเนนแต่ขึ้นอยู่กับตัวเราเองว่าจะสามารถรักษามันไว้มากน้อยเเค่ไหนเอง

องค์ความรู้

- การจัดประสบการณ์ต้องสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กและวิธีการเรียนรู้

- วิธีการเรียนรู้ของเด็กคือการลงมือกระทำโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และกระทำอย่างอิสระ



วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555


การเข้าเรียน ครั้งที่ 13

 วันพุธ ที่ กันยายน พ.ศ.2555 เวลา 08.30-12.20  .


- อาจารย์เช็คชื่อภายในห้องเรียนตามปกติ

- อาจารย์ได้บอกว่า วันเสาร์ที่ 8กันยายนนี้้้้ะมีการสัมมนาเกี่ยวกับนิทาน

โดยมีครูมูเป็นคนมาให้ความรู้ และอาจารย์ได้ถามว่ามีใครบ้างที่สามารถมาได้

และถามเหตุผลถึงคนที่มาไม่ได้ ว่าเพราะอะไร

- อาจารย์ให้ไปเอาสีและเพจตัวหนังสือที่ห้องอาจารย์มาแจกคนละชุด

- เอางานสื่อที่ทำจากปฏิทินให้อาจารย์ได้ดูเเละยังมีตรงจุดไหนที่ยังต้องแก้ไขอยู่

- หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้เข้าไปร่วมฟังเทศน์ในช่วงก่อนที่จะเที่ยงในงาน

วันสถาปณามหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมครบรอบ 72 ปี



ภาพบรรยากาศของการเข้าฟังเทศน์เนื่องในวันสถาปณา
                                      



                                      ความรู้ที่ได้รับ


- การเล่านิทานเป็นกิจกรรมศิลปะ

- กิจกรรมที่ต้องมีในเเต่ละอาทิตย์ คือ ต้องมีการเล่าข่าว การโฆษณา ประชาสัมพันธ์

การเซ็นชื่อมาเรียน

- เด็กจะได้เห็น และได้ดูรูปแบบเเละลักษณะการเขียนจากครูผู้สอนเเละเด็กจะเกิดการเลียนแบบ

- มุมประสบการณ์ต้องจัดนิทาน บอร์ด หูฟัง วิทยุ

- กิจกรรมกลางแจ้ง เช่น เกม ร้องเเละเต้น

- การเล่นต้องเล่นจาก ของจริง----->ภาพ----->สัญลักษณ์----->นามธรรม

- เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 และการสัมผัสจริง

- การที่ได้ไปฟังพระเทศน์ก็เป็นภาษาที่สื่อสราวิธีหนึ่งเช่นเดียวกัน








การเข้าเรียน ครั้งที่ 12


วันพุธ ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2555 เวลา 08.30-12.20



- พออาจารย์เข้ามาก็เช็คชื่อ 

- แล้วให้เเต่ละกลุ่มคิดคำขวัญรณรงค์สุรา 


คำขวัญรณรงค์สุรา 

กลุ่มที่1 สุราเป็นยาเสพติด พวกเราอย่าหลงผิดคิดติดมันเลย (ส้ม ภา)


กลุ่มที่ 2เก็บเงินใส่ขวด ดีกว่าเจ็บปวดเพราะเป็นตับแข็ง( มะปราง)


กลุ่มที่ 3 สุราเป็นยาพิษ ดื่มนิดๆก็ติดใจ

ถ้าไม่อยากตายไว ต้องห่างไกลผิดสุรา( แอม อ้อม)

กลุ่มที่ 4 ดื่มสุราเหมือนฆ่าชีวิต คิดซักนิดก่อนจะดื่ม ( ฝน ริตา)

กลุ่มที่ 5 สุรานั้นทำลายชีวิต อย่าหลงผิดคิดไปลอง(แอน แป้ง)

กลุ่มที่ 6 สุราใช่มีค่า อย่าสรรหามันมาลอง เราควรคิดไตร่ตรอง อย่าได้ลองดื่มสุรา( กิ๊ฟ ซะห์)

กลุ่มที่ 7 สุราไม่ใช่พ่อ แล้วจะไปง้อมันทำไม ( แก้ม เบลล์)

กลุ่มที่ 8สุราน่ารังเกลียด ทำให้แครียดจนมึนงง เราควรจะต้องปลง อย่าไปหลงลองมันเลย ( ศิ หนูนา)

กลุ่มที่ 9สุราคือน้ำเมา จะทำเราเสียชีวิต จึงควรคิดให้ดี ก่อนจะติดจนตัวตาย ( ปูนิ่ม นุ่น)

กลุ่มที่ 10 ดื่มสุราวันละนิด แค่คิดก็เสี่ยงแล้ว (โอม โอ)

กลุ่มที่ 11 เสียเหงื่อเพื่อกีฬา ดีกว่าเสียเงินตรา ให้กับค่าเหล้า (แอน วาว)

กลุ่มที่ 12 สุรากินแล้วเมา กลับบ้านเก่าก่อนใครๆ (หลัน จ๋า)

กลุ่มที่ 13 ดื่มนมเพื่อสุขภาพ ดีกว่าดื่มน้ำเนาเพื่อมรณภาพ (สา กุ้ง)

กลุ่มที่ 14 สุราลองแล้วติด อย่าได้คิดติดมันเลย (ซาร่า แก้ว)

กลุ่มที่ 15รักชีวิต อย่าคิดดื่มสุรา ( กวาง เมย์)

กลุ่มที่ 16 สุรานั้นไม่ดี มีทั้งพิษและมีภัย ดื่มแล้วก็ติดใจ เงินรั่วไหลหมดกระเป๋า (บี รัตน์)

- อาจารย์ให้ดูการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน เรื่องช้างน้อยอัลเฟรด ซึ่งเขียนโดย นฤมล เนียมหอม

- แนวคิดที่ได้จากนิทาน 1. การยอมรับความแตกต่างของผู้อื่น และยอมรับความแตกต่างของตนเองที่ไม่เหมือนผู้อื่น
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน ดร.นฤมล เนียมหอม จากแนวคิดพื้นฐานที่ว่า "นิทาน" เป็นสิ่งที่เด็กเข้าถึงได้ง่าย เรื่องราวในนิทานมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างเสริมจินตนาการให้แก่เด็ก การนำนิทานมาเป็นสื่อหลักในการจัดประสบการณ์ จึงเป็นเทคนิคที่จะช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น คุณครูแมว –ดร. นฤมล เนียมหอม จึงได้คิดองค์ความรู้ “การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน” โดยเริ่มต้นจากกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย จนมาทำเป็นเต็มรูปแบบในโรงเรียนทุ่งมหาเมฆตั้งแต่ปี 2550 โดยในขั้นตอนการเรียนรู้เด็ก ๆ จะเป็นผู้เลือกนิทานด้วยตัวเอง จากนั้นคุณครูจะนำนิทานที่เด็ก ๆ เลือกมาประยุกต์ใช้ในการคิดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ทั้ง 6 กิจกรรม วิธีนี้จะทำให้เด็ก ๆ สนุกกับการเรียนรู้เหมือนอยู่ในโลกนิทานตลอดทั้งวัน






2. การช่วยเหลือที่ต้องมีในสังคมเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง

- อาจารย์ได้พูดถึงเกมว่ามีอะไรบ้าง 1. เกมจับคู่

2. เกมโดมิโน

3.เกมล้อตโต

4. เกมสำคัญ 2 แกน

5. เกมอุปมา อุปไมย

6. เกมอนุกรม

- การเล่านิทานมีหลายเเบบคือ 1.เล่าไปตัดไป

2. เล่าไปวาดไป

3. เล่าไปฉีกไป

4. เล่าไปพับไป

5. เล่าด้วยเชือก

- อาจารย์ให้กุล่มที่ทำงานปฎิทิน แล้วมาหาวิธีที่จะเลือก วิธีการต่างๆเหล่านี้มาเล่าให้อาจารย์ฟังในคาบหน้า



การเข้าเรียน ครั้งที่ 11

วันนี้ วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2555 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.



- อาจารย์ได้วางแผนร่วมกับนักศึกษาว่าจะนัดกันมาเรียนเพิ่มเติมกันวันไหน

- อาจารย์ให้บอกชื่อผลไม้ที่ตนเองชอบมา คนละหนึ่งอย่าง ห้ามซ้ำกันแล้ว

เวลาอาจารย์ถามก็ตอบ จากนั้นก็ให้ตอบของเพื่อนคนที่อยู่ข้างๆ

- อาจารย์ให้ยกตัวอย่างการใช้ประโยคขอร้อง

- อาจารย์ให้หยิบสิ่งของที่มีค่าที่สุด พร้อมบอกเหตุผล เราเอานาฬิกา เพราะว่าพี่สาวซื้อให้

แล้วอาจารย์ก็ให้วาดรูปออะไรก็ได้สองรูปแต่เป็นความหมายเดียว เช่น ใบไม้ กับ หู ก็เป็นใบหู

อาจารย์ให้ทำกิจกรรมนี้เพราะว่า จะทำให้เห็นทักษะทางภาษาจากการพูดของเด็ก เป็น

การพัฒนาทางด้านภาษาสำหรับเด็ก

- อาจารย์ให้เขียนเป็นภาพอะไรก็ได้และให้เพื่อนทาย

- จากนั้นก็ได้วาดภาพอีกภาพหนึ่งเป็นภาพอะไรก็ได้คนละ 1ภาพ และให้ออกไปหน้าชั้นเรียน

ทั้งกลุ่มยืนเรียงกันเป็นหน้ากระดานเเละให้เล่าเป็นเรื่องราวจากภาพที่วาดของเเต่ละคนโดย



หนูวาดภาพหัวใจแล้วก็เล่าเรื่องเริ่มต้น จนจบได้ด้วยดี


จากคนเเรกเป็นคนเริ่มเรื่องและจบคนสุดท้ายให้ได้

งานในคาบนี้ที่ต้องโพส

1.ให้คิดโฆษณาของตัวเอง (แฟลชไดร์)

แฟลชไดร์อันนี้นะค่ะสามารถเก็บข้อมูลได้ มีขนาดเล็กกระทัดลัด พกพาได้สะดวก สีสันสวยงามแถมราคาไม่แพง ถ้าใครสนใจตอนนี้เป็นช่วงโปรโมชั่น ซื้อ 1 แถม 1 เลยค่ะ

2.ให้ไปคิดคำประชาสัมพันธ์ ในวันอาทิตย์ที่26 สิงหาคมนี้ เวลา 09.00น. -16.00น. นะค่ะจะมีท่านวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านการจัดบอร์ด การตัดดอกไม้ ดอกต่างๆ จากเศษวัสดุที่เหลือใช้ซึ่งเหมาะกับครูปฐมวัยเป็นอย่างยิ่ง มากันเยอะๆนะค่ะ

3.งานสุดท้ายคือเขียนเล่าเรื่องในเสาร์- อาทิตย์นี้

ทุกๆวันเสาร์-อาทิตย์หนูจะต้องกลับบ้านขณะที่เดินทางนั้นเป็นเวลาที่แสนยาวนานมาก เพราะรถติดมากทั้งฝนตกกว่าจะถึงบ้านก็เล่นเอาซะเปียกปอนกันไปหมด การที่ได้กลับบ้านนั้นเพื่อที่จะพักผ่อนหาเวลาว่างไปทำบุญกับครอบครัวเป็นประจำ และได้มาเคลียร์ งานที่ค้างเอาไว้ด้วย เช่นทำบล็อก ของ อาจารย์จินตนา และรายงานวิชาอื่นๆ

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555


การเข้าเรียน ครั้งที่ 10


วันนี้ วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2555 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
  

     ไม่มีการเรียนการสอน

เพราะว่าอาจารย์ไปทำธุระที่จังหวัดนครราชสีมา แต่อาจารย์ก็ได้สั่ง

ให้ทำงานจน

เสร็จคือให้ทำปฎิทินที่บอกรายละเอียดไว้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา งาน

ที่ทำถ้าเรามี

เวลาและอาจารย์พอมีเวลาก็ควรพยายามเอางานนั้นมาให้อาจารย์ดู

บ้างเผื่อมีอะไร

ที่ต้องแก้ไข